วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

หัวใจของการผลิตแบบ Just in time 2

สมัยนี้ใครๆก็อยากทำการผลิตแบบ lean หรือ Just in time เพราะเขาโม้ว่าไม่มีสินค้าคงเหลือ จะประหยัดเงินได้นู้นนี่นั้นแล้วเราก็จะกำไร ฟังแล้วก็เกิดกิเลสอยากทำบ้าง แต่ช้าก่อนครับเราต้องก่อนจะลอกเขามาก็ต้องรู้ก่อนนิสนึงว่าอะไรคือหัวใจของการผลิตแบบ Just in time ของ Toyota

ที่ Toyota สามารถทำการผลิตแบบ Just in time ได้เพราะลักษณะธุรกิตของเขาตรงตามสมติฐานของ  ระบบขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด (Economic Order Quantity หรือ EOQ)พอดี ซึ่งทำให้ toyota สามารถผลิตส่งให้ลูกค้าได้ทันเวลาโดยที่ไม่ต้องเสียงเงิน stock สินค้า

สมมติฐานของ EOQ ประกอบด้วย [1]
(1) อุปสงค์ของสินค้าต้องมีค่า่คงที่แีละต่อเนื่องตลอดเวลา*****
(2) ระยะการนำส่งสินค้า (Lead Time) คงที่
(3) ราคาสินค้าและค่าขนส่ง ต้อง มีค่าคงที่โดยไม่เปล่ยีนแปลงไปตามปริมาณในการสั่งซื้อ
(4) อุปสงค์สินค้าต้องได้รับการตอบสนองทั้งหมด ไม่เกิดกรณีสินค้าขาดแคลน
(5) ไม่มีสินค้าคงคลังที่อยู่ในระหว่างการขนส่ง (In-Transit Inventory)
(6) ใช้ได้เฉพาะสินค้าประเภทเดียวเท่านั้น (Single Product)
(7) กรอบเวลาในการพิจารณามีความต่อเนื่องไปในอนาคตไม่มีที่สิ้นสุด
(8) ไม่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ

ขอสมมติฐานข้อ 1 อุปสงค์ของสินค้าต้องมีค่า่คงที่แีละต่อเนื่องตลอดเวลานี่แหละคือหัวใจที่ทำให้ Just in time สำเร็จได้ วิธีการทำให้อุปสงค์ของสินค้าคงที่ของ Toyota ก็คือการเกลี่ยคำสั่งซื้อใครอยากได้รถก็ต้องรอรอไม่ได้ก็ไปซื้อรถเจ้าอื่น ด้วยวิธีอันนี้ทำให้เขารู้ล่วงหน้าว่าจะต้องผลิตรถกี่คัน สีอะไรบ้าง ส่งของวันไหน ล่วงหน้าเป็นเดือนๆ พอได้ข้อมูลนี้มาเขาก็วางแผนให้ supplier จัดส่งวัตถุดิบมาให้ทันเวลาตามตารางการประกอบรถเปะๆห้ามพลาด

อ้างอิง
[1]ดร.สถาพร โอภาสานนท์,"VMI: Vendor Managed Inventory (1)", http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/Jba130/Column/JBA130SathapornC.pdf

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม